ระวัง Scam ภาพรูสยองบนผิวหนัง เล่นกับความกลัว “รู“ ของคน

ระวัง Scam ภาพรูสยองบนผิวหนัง เล่นกับความกลัว “รู” ของคน
มิตรรักนักเฟซบุ๊ก หลายคนกำลังถูก Scam เล่นงาน โพสต์วิดีโอสุดพิลึก อ้างว่าเป็นโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดรูพรุน ซึ่งภาพแบบนี้ทำให้ผู้คนเกิดอาการกลัว หรือ Panic attack ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ขณะที่หลายคนตกเป็นเหยื่อระบาด เพราะอดที่จะอยากรู้ไม่ได้ว่ามันคืออะไร
อาการกลัวรูพรุนบนผิวหนัง หรือ บนพื้นผิวอื่นๆของคน ถูกจำกัดความว่าเป็นอาการ Trypophobia ซึ่งนักจิตวิทยาจำนวนมากเพิ่งจะเริ่มทำการศึกษาอย่างลึกซึ้งเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ที่ภาพตัดต่อ ของผิวหนังมนุษย์และรูพรุน ถูกแพร่กระจายทางเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงในปัจจุบันที่ถูกแพร่หลายในโซเชียลมีเดีย ทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง ไปจนถึงวิดีโอที่เป็น Scam ซึ่งหวังจะเจาะข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โซเชียลแพลตฟอร์มนั้นๆ ในที่นี้ที่ผู้เขียนเห็นบ่อยคือบน Facebook โดยภาพเหล่านั้นสร้างความสั่นประสาทให้กับผู้คนที่ได้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อ จนบางคนคันไม้คันมืออยากคลิกเพื่อศึกษาข้อมูลทันทีโดยลืมคิดว่านี่คือการเจาะข้อมูลประเภท Phishing
เว็บไซต์ CBS news ในสหรัฐเคยหยิบผลงานวิจัยในจุลสาร Psychological Science มาอธิบายปรากฎการณ์การกลัวรูพรุนนี้ ซึ่ง Geoff Cole และ Arnold Wilkins นักวิจัยจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สมอง แห่งมหาวิทยาลัย Essex เคยเผยผลการศึกษาการมองภาพถ่ายในเว็บไซต์ Trypophobia.com ซึ่งรวบรวมภาพที่ทำให้คนเกิดอาการขนลุกขนพองไว้จำนวนมาก ว่าที่จริงคนไม่ได้กลัวรูพรุนเหล่านั้น แต่สมองสั่งการอัตโนมัติให้เกิดการระวังภัยขึ้น ด้วยการทำให้เกิดความกลัว แต่เป็นการกลัวอะไรนั้นยังเป็นที่ต้องขบคิดและวิจัยกันต่อไป
อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ได้ชมภาพเหล่านั้น ส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขากลัวว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอะไรอาศัยอยู่ในรูเหล่านั้น ไม่ว่าสิ่งที่พวกเขาได้เห็นจะเป็นรูพรุนบนผิวหนัง รูพรุนบนพื้นผิวไม้ รูพรุนของฟองน้ำ ไปจนถึงรูพรุนของรวงผึ้ง
ตัวอย่างภาพตัดต่อที่ทำให้เกิดอาการกลัวรูพรุน ซึ่งไม่สยองจนเกินไปนัก
ภัยที่ใกล้ตัวที่สุดสำหรับผู้คนออนไลน์ ไม่ใช่รูพรุนเหล่านั้น แต่เป็น Scam โพสต์นั่นเอง ซึ่งBlog ในเว็บไซต์ Phishlist.com ซึ่งรวบรวมการเตือนภัยเจาะข้อมูลประเภท Phishing โดยเฉพาะ แจ้งเตือนโพสต์ล่าสุดที่จั่วหัวว่า 18+ You will never use this shampoo after viewing this video พร้อมภาพสยองที่คล้ายกับรูพรุนจำนวนมากบนผิวหนัง และดูเหมือนจะมีตัวอะไรอาศัยอยู่ในนั้นว่าเป็นโพสต์ประเภท Scam และแนะนำให้
1. รีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดทันทีเมื่อได้รับรายงานว่ามีการโพสต์ภาพดังกล่าวบนสเตตัสของเราโดยเราไม่รู้ตัว


2. Uninstall แอปลิเคชั่นบน Facebook ที่น่าสงสัยออกจากแอคเคาต์ของตัวเอง


3.ใช้ซอฟต์แวร์ Anti-Malware และอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ
Image source : Flickr/Elias Gayles
สนับสนุนเนื้อหา: www.voicetv.co.th

Comments

Powered by Facebook Comments

You are not authorized to see this part
Please, insert a valid App ID, otherwise your plugin won't work correctly.

Leave a reply

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>