2. การเป็น จนท. IT ในหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานด้าน IT คุณจะไม่ได้รับความก้าวหน้าใด ๆ เพราะการจะใต่ระดับขึ้นไป เป็นไปได้แค่คนที่อยู่ในสายงานหลักของหน่วยงานนั้น ๆ
3. คุณจะทำงานเป็นเป็ด คือทำทุกอย่าง แต่ไม่ได้ดีหรือไม่เจาะลึกสักอย่าง นาน ๆ เข้าจะทำให้คุณไม่สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ ทำให้คุณอาจจะตกจากระดับที่ควรจะเป็น
4. หากคุณทำงานเป็น จนท. IT ในหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาระกิจหลัก คุณมักจะได้รับมอบหมายงานเอกสาร หรืองานด้านอื่น ๆ ที่คุณและ จนท. ไอที ทั่ว ๆ ไปไม่ถนัดเอาเสียเลย และคุณจะทำงานนั้น ๆ ได้ไม่ดีเท่าคนที่จบมาสายงานนั้นโดยเฉพาะ
5. นอกจากคุณจะต้องทำงานตัวคุณเองแล้ว บ่อยครั้ง ขณะที่งานคุณเร่ง ๆ แต่คุณจะต้องลุกไปดู PC ให้ผู้อื่น หากคุณปฏิเสธว่ากำลังยุ่ง คุณจะถูกตำหนิในใจทันที หากกำลังเขียนโปรแกรมอยู่ กว่าจะไปแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเสร็จกลับมาคุณอาจจะต้องเรียบเรียงความคิดคุณ ใหม่ตั้งแต่ต้นอีกครั้ง และเมื่อคุณกำลังจะเริ่มงานต่อ คุณก็จะถูกเรียกไปอีกครั้ง จนวันทั้งวันคุณอาจจะไม่ได้ทำงานของคุณเลย
6. งานของคุณจะไม่โดดเด่นเหมือนคนอื่น ใจขณะที่คนอื่นเขาจะมีการรับส่งงานผ่านเอกสาร มีการทำงานที่เห็นได้ชัด วิ่งไปถ่ายเอกสาร วุ่นอยู่กับการจัดรูปเล่มรายงานการประชุม นั่งพิมพ์งานจนหัวหมุน ปริ้นงานเป็นร้อย ๆ แผ่น แต่สำหรับ จนท. IT ไม่ว่าคุณจะงานเยอะ งานน้อย ไม่มีงานทำ ยุ่งวุ่นวายรีบเร่งจนไม่มีเวลาลุกไปเข้าห้องน้ำ แต่สายตาเจ้านายจะเห็นเพียงอริยาบทเดียวของคุณคือ นั่งก้มหน้าอยู่ที่หน้าจอ จนบางครั้ง (บ่อยครั้ง) ดูเหมือนคุณไม่มีงานทำ ประสบการณ์ของผม ผมเคยโดนประเมินต่ำกว่าเพื่อนร่วมงาน เพราะเหตุผลที่บอกว่า ผมไม่ทุ่มเทกับงาน ด้วยเหตุผลนี้ เพราะว่าไม่ว่าเราจะยุ่งยากเพียงใด ท่าทางของเราก็ยังคงเดิมคือนั่งกล้มหน้างุด ๆ อยู่หน้าคอม ???
7. การพัฒนาโปรแกรม พัฒนาระบบของคุณ จะไม่มีค่าไปมากกว่ารายงานการประชุม 1 ฉบับ เพราะเจ้านายที่ไม่ใช่คนในสายงาน IT จะไม่รู้ว่า Web Application หนึ่งระบบ หน้าเว็บเพจหนึ่งหน้า การประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูล มันยากและมีขั้นตอนเพียงใด ดังนั้นบ่อยครั้งที่คุณมุ่งมั่นพัฒนาระบบด้วยความภูมิใจ แต่อาจจะได้ผลตอบรับเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้เลย
8. ข้อเสียของ จนท. IT หรือคนสายงานนี้ คือ มักจะพูดกับคอมฯ เก่งกว่ากับคน จึงทำให้เข้ากับผู้อื่นได้ไม่ดีนัก (ขึ้นอยู่กับนิสัยพื้นฐานของแต่ละบุคคลด้วย) ดังนั้น อย่าน้อยใจหากว่าคุณทำงานมากมาย แต่เจ้านายกลับมองว่าคุณไม่มีงานอะไรทำ หากจะแก้ปัญหานี้ต้องหาวิธีโปรโมทงานของตัวเอง … ตัวอย่าง หากมีข้อบกพร่องจากระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้เว็บไซต์ของหน่วยงานเข้าไม่ได้ ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจนายถึงเหตุผล เพราะถ้าเงียบไปเฉย ๆ เขาก็จะคิดว่าเป็นความผิดของคุณ และจะฝังใจไปอย่างนั้นว่าคุณไม่ได้เรื่อง เขาไม่เสียเวลามาถามคุณหรอก หากมีข้อผิดพลาดในงาน แต่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของคุณต้องแจ้งเจ้านายทราบเสมอ อย่าคิดว่าเขาจะเข้าใจได้เอง
9. ระบบที่คุณดูแลอยู่อาจจะไม่เคยเสียเลยเป็นปี ๆ แต่ถ้าวันใดมันเสีย เจ้านายจะไม่จำเวลาเป็นปี ๆ นั้นแต่เขาจะฝังใจว่า ระบบเราห่วยไม่ได้เรื่อง จากวันเดียวที่มันเสียนั่นแหละ
10. ไม่ว่าระบบคุณจะออกแบบมาดีอย่างไร Application ของคุณจะรัดกุมแค่ไหน User มักจะใช้งานผิด ๆ ได้เสมอ .. และเมื่อเหตุการณ์นี้ขึ้น เจ้านายมักจะไม่คิดว่า User ใช้งานผิด แต่จะด่าคุณก่อน ผมเคยโดนตำหนิว่า Web Application ของผมมันแนบไฟล์ไม่ได้ ซึ่งผมทำลองแล้วทดลองอีก ว่ามันแนบไฟล์ได้ ให้คนนั้นคนนี้ทดลองก็ทำได้หมด ยกเว้น user คนหนึ่งที่แนบไม่ได้ ผมก็แจ้งไปว่าระบบปกติ แต่กลับโดนตำหนิว่า ถ้าปกติ ทำไม User คนนั้นใช้งานไม่ได้ … แน่นอนที่สุด หาก User คนนั้นเป็นคนที่สูงกว่าคุณ เป็นผู้บริหาร เจ้านายจะไม่ฟังคุณ
ฝากไว้ครับเผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านใดบ้าง นำมาจากประสบการณ์จริง ใครเจออย่างผมก็มาแบ่งปันประสบการณ์กันได้นะครับ สำหรับผมที่เขียนตรงนี้ก็เพื่อระบายอะไรบางอย่าง ที่เรารู้สึกว่าเราทุ่มเทจนสุดความสามารถที่เรามี แต่กลับไม่ได้รับการตอบแทนใด ๆ แถมยังโดนตำหนิ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะอายุเยอะแล้ว จะเปลี่ยนงานตอนนี้มันก็สายเกินไป ต้องก้มหน้ายอมรับต่อไป ก็เลยอยากจะแบ่งปันเผื่อน้อง ๆ ที่อาจจะเจอปัญหาเดียวกัน หากอายุไม่เยอะ แนะนำว่าเปลี่ยนงานไปอยู่หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้าน IT โดยตรงจะดีกว่า
Comments
Powered by Facebook Comments